ในปัจจุบันนั้น service provider (SP) นั้นมีหลากหลายประเภท เช่น Application service provider (ASP) ,Network service provider (NSP),Internet service provider (ISP),Managed service provider (MSP),Storage service provider (SSP),Telecommunications service provider (TSP) หรือ Media service provider เป็นต้น ดังนั้น Service Provider ก็คือบริษัทหรือหน่วยงานผู้ให้บริการหรือจัดหาให้แก่ลูกค้านั่นเอง สำหรับผู้ที่ทำงานในแวดวงไอทีในเมืองไทยนั้น คงได้เคยติดต่อกับ Service Provider กันบ้างแล้ว เพื่อความเข้าใจมากขึ้น จะยกตัวอย่าง Internet service provider และ Media service provider ให้พอเห็นภาพเพื่อประโยชน์ในการทำงานนะครับ
- Media Service Provider หรือ Network service provider หรือ Telecommunications service provider สำหรับผมแล้วจะคุ้นเคยกับคำว่า Media Service Provider หรือเรียกสั้นๆว่า Media Provider ก็คือผู้ให้บริการหรือจัดหา Media ให้เรานั่นเอง ในที่นี้ Media จะเป็นสายสัญญาณต่างๆ เช่นสายโทรศัพท์ สายเคเบิล สายไฟฟ้า สายแลน หรือแม้แต่ที่ไม่ได้ใช้สายเช่นคลื่นวิทยุ คลื่นโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ตัวอย่างบริษัที่เป็น Media Service Provider ในเมืองไทย ได้แก่
1. บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
2. บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
3.True Corporation Public Company Limited
4. บริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน)
5. United Information Highway Co., Ltd. ( UIH )
6. บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน)
7. บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)
8. บริษัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ทเวอร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด
9. บริษัท สามารถคอมมิวนิเคชั่นเซอร์วิส จำกัด
10. ADVANCED INFO SERVICE PLC. (AIS)
เป็นต้น
- Internet Service Provider คือบริษัทผู้ให้บริการ Internet ปัจจุบันบริษัทเอกชนได้รับสิทธิในการจัดตั้งบริษัท เพื่อให้บริการอินเตอร์เน็ตหลายแห่งด้วยกัน ซึ่งพอจะ
รวบรวมเป็นข้อมูลในปัจจุบันได้ ดังนี้
1. บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
2. อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด
3. แปซิฟิค อินเทอร์เน็ต ( เวิลด์เน็ท ) ( ประเทศไทย ) จำกัด
4. จัสมินอินเทอร์เน็ต จำกัด
5. เอ-เน็ต จำกัด
6. เวิลด์เว็บ
7. สามารถอินโฟเน็ต จำกัด
8. บริษัท ทริปเพล ที โกเบอล์ เน็ต จำกัด
9. บริษัท KIRZ จำกัด
10. บริษัท โอทาโร จำกัด
11. บริษัท อินเทอร์เน็ต เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด
12. บริษัท โปรอิมเมจ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด
13. ฟาร์อีสท์ อินเทอร์เน็ต จำกัด
14. บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด
15. เอเชียอินโฟเน็ต จำกัด Ltd.
16. ริช คอมมูนิเคชั่นส์ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย )
17. เคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเทอร์เน็ต จำกัด
18. บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
19. บริษัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ทเวอร์ค คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
20. ชมะนันทน์ เวิลด์เน็ท จำกัด
เป็นต้น
จะเห็นว่ามีปัจจุบันมีหลายบริษัทให้บริการทั้งในส่วนของ Media Service Provider และ Internet Service Provider ด้วย ดังนั้นในการเลือกใช้บริการ หรือการแก้ไขปัญหาการใช้งานควรศึกษาช่องทางการติดต่อสื่อสารให้ถูกต้องนะครับ และในอนาคตเราคงจะเห็นบริษัทที่เป็น Application service provider มากขึ้น ซึ่งเราจะใช้ Application หรือโปรแกรมต่างๆได้นั้นยังไงก็คงหนีไม่พ้นผู้บริการที่เป็น Media Service Provider หรือ Internet Service Provider ไปได้
WAN Technologies ที่ Media Service Provider ในเมืองไทย ให้บริการอยู่นั้นมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็แตกต่างกัน ได้แก่
- Leased Line ( วงจรเช่า T1/E1 )
- Frame-Relay
- ATM ( Asynchronous Transfer Mode )
- Metro Ethernet ( Ethernet LANs )
- VSAT (Very Small Aperture Terminal)
- IPSTAR
- Cellular 3G / 4G ( Third generation and Fourth generation )
- WiMAX ( Worldwide Interoperability for Microwave Access )
- MPLS (Multiprotocol Label Switching )
- ISDN
- DSL ( Digital subscriber line )
- Cable Internet (Docsis)
- Dark Fiber
- Ethernet over Synchronous Digital Hierarchy (EoSDH)
- FTTH ( Fiber to the Home )
- Dialup services
- etc
เพื่อความเข้าใจมากขึ้นดูวีดีโออธิบายเกี่ยวกับเรื่อง LAN MAN WAN ตามด้านล่างนะครับ โดยเฉพาะในส่วนของ WAN จะต้องมีการเช่าจาก Service Provider โดยตรงครับ
WAN Technologies แต่ละประเภท ที่ Media Service Provider ให้บริการอยู่นั้นนอกจากแตกต่างกันในเรื่องของ Technology ที่ใช้แล้ว Data rate หรือ BW ก็แตกต่างกัน และพื้นที่ให้บริการที่ทั่วถึงก็แตกต่างกัน รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้งานก็แตกต่างกันด้วย ควรเลือกใช้ตามความเหมาะสมนะครับ
และในส่วนของ WAN จะอยู่ใน Layer 2 ของ OSI 7 Layers ดูวีดีโอประกอบเพื่อความเข้าใจมากขึ้นตามด้านล่างนะครับ
หวังว่าบทความนี้คงมีประโยชน์กับหลายๆท่านนะครับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทความ Network
บทความ Linux
บทความ Certificate
|