You Can If You Think You Can >
Mr.Jodoi say

" โจดอยทำได้คุณก็ต้องทำได้ "

นายเกรียงศักดิ์ นามโคตร (อาจารย์ดอย)

ผู้ก่อตั้ง บริษัทโจดอย ไอทีแอนด์เซอร์วิส จำกัด ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัทโจดอย ไอทีแอนด์เซอร์วิส จำกัดและเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

Certifications :
- CCNA (Cisco Certify Nework Associate)
- CCNA Security (Cisco Certified Network Associate Security)
- CCDA (Cisco Certified Design Associate)
- Cisco Express Foundation Design Specialist
- CCNP (Cisco Certified Network Professional)
- CCDP (Cisco Certified Design Professional)
- SBCSEN , SBCSAM , SMBAM , SMBEN , CQS-SMBE from Cisco SMB University
- CompTIA Linux+
- CompTIA Security+
- Pearson VUE Certified Administrator

More

--------------------------------------------------------------------

Basic Network Command by Mr.Jodoi

มาเรียนรู้การใช้ Network Command เบื้องต้นกันนะครับ ขอแนะนำ command ping และ command traceroute จากวีดีโอที่อาจารย์เกรียงศักดิ์ นามโคตร (อาจารย์ดอย) ทำไว้ใน youtube ครับ


IP Address version 4 ตอนที่ 1 by Jodoi

มาเรียนรู้การคำนวณ IP Address version 4 ด้วยเทคนิคการใช้ตารางมหัศจรรย์ซึ่งทำให้ศิษย์นำไปใช้ในการทำงานและการสอบ Cert.IT ได้อย่างดีเยี่ยม

Basic Linux Command ตอนที่ 1 (ls,cat,vi)by Jodoi

มาเรียนรู้การใช้ Linux Command เบื้องต้นกันครับ เริ่มต้นด้วย command ls , cat และ vi ซึ่งปัจจุบันมีความจำเป็นต้องเรียนรู่อย่างยิ่งเพราะหลายๆองค์กรมีการใช้ Linux Server กันมากขึ้น

 

และยังมีวีดีโอดีๆอีกมากมายรับชมได้ใน แชลแนล Mr.Jodoi ตามด้านล่างนะครับ

https://www.youtube.com/user/MrJodoi

 




มารู้จัก Server แบบต่างๆ กันดีกว่า 

Server หรือ เครื่องให้บริการ หรือ เครื่องแม่ข่าย จะหมายถึง ตัวเครื่อง Server ที่เป็น Hardware หรือที่เป็น Software โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำงานให้บริการในระบบเครือข่ายแก่เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป ที่เรียกว่า Client ตัวเครื่อง Server ควรจะมีประสิทธิภาพสูง มีความเสถียร สามารถให้บริการแก่ผู้ใช้ได้เป็นจำนวนมากได้ ปัจจุบัน Server ที่ให้บริการใน Internet และภายในองค์กรต่างๆนั้นมีมากมายหลายประเภท ดังนั้นในการเลือกซื้อหรือติดตั้ง Server ควรพิจารณาในเรื่องของ CPU ,Memory ,Harddisk รวมถึงจำนวนผู้ใช้งาน ที่ต้องคำนึงถึงอีกอย่างคือ OS ที่เลือกใช้ ควรจะเป็น Windows , Mac OS X หรือ open source เช่น Linux และ FreeBSD เป็นต้น ทั้งนี้อยู่ที่ความถนัดหรืองบประมาณตามความเหมาะสม

ประเภทของ Server
- File Server คือเครื่อง Server ที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเก็บ file ต่าง ๆ มาไว้ที่ Server และเปิดให้บริการดึงข้อมูลนั้น ๆ มาใช้ได้ file ต่างๆ เช่น เอกสาร, เพลง, รูปภาพ, หนัง, ข้อมูลสำคัญ,โปรแกรมต่างๆ เป็นต้น File Server มีทั้งที่อยู่ใน LAN และบน Internet File Servers ใน LAN จะใช้ protocol SMB/CIFS และ protocol NFS จะใช้ Windows ทำเป็น File Server หรือบน Linux จะใช้ Samba ทำเป็น File Server ก็ได้ ถ้าเป็นองค์กรที่ใหญ่ขึ้นใช้อุปกรณ์ NAS (network-attached storage) ช่วยก็ได้ครับ ส่วนบน Internet นั้น จะใช้ Web Server หรือ FTP Server ทำเป็น File Server ก็ได้นะครับ ข้อแนะนำในการเข้าถึง File Server ในปัจจุบันควรทำเป็นระบบ Login ด้วย Username และ Password นะครับ เพื่อความปลอดภัยมากขึ้น

- DHCP Server ( Dynamic Host Configuration Protocol Server) คือ Server ที่มีหน้าที่จ่าย IP ให้แก่เครื่องลูก (clients) แบบอัตโนมัติเพื่อความสะดวก เหมาะสำหรับ Network ที่มีเครื่องลูกหลายเครื่อง เช่นตามโรงงาน หรือหน่วยงานใหญ่ๆ เป็นต้น ข้อแนะนำในระบบ Network เดียวกันไม่ควรมี DHCP Server หลายๆตัว เพราะอาจเกิดปัญหา IP Address ชนกันได้ DHCP จะใช้ UDP port 67 ดู youtube ด้านล่างประกอบเพื่อความเข้าใจมากขึ้นนะครับ

- Web Server คือเครื่อง Server ที่ให้บริการที่เก็บ website แล้วให้ผู้ใช้ (Client) เรียกชมหน้า website ได้โดยใช้ protocol HTTP ผ่านทาง web browser (IE, Firefox, Google chome) นั่นเอง
ซอฟต์แวร์ หรือ โปรแกรมที่นำมาทำ Web Server ที่ได้รับความนิยมสูงสุด 4 อันดับแรก คือ Apache HTTP Server จาก Apache Software Foundation , Internet Information Server (IIS) จากไมโครซอฟท์,Sun Java System Web Server จากซัน ไมโครซิสเต็มส์ และ Zeus Web Server จาก Zeus Technology ปัจจุบันมีการเกิดขั้นของ Web Server จำนวนมากมาย เป้าหมายเพื่อธุรกิจหรือความบันเทิงทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้จัดทำ Web Server นั้นครับ Web Server จะเปิด TCP port 80 (http) หรือ Web Server ที่ต้องการความปลอดภัยสูงจะใช้ TCP Port 443 (https) แต่ถ้าเป็น Web Server ที่ใช้ภายในองค์กร หรือเป็นความลับ อาจมีการเปลี่ยน port ที่ใช้งานเป็น port อื่นก็ได้ครับ

- FTP Server หรือ FTP(File Transfer Protocol) คือ Server ที่ให้บริการการรับ-ส่งข้อมูล ซึ่งเปิดให้ผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกเข้าใช้ แต่บางเครื่องอาจเป็นให้ผู้ใช้ทั่วไปเข้าใช้ โดยใช้รหัสสมาชิก anonymous ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วโลกว่าเป็นรหัสผู้ใช้สำหรับผู้ที่ไม่ประสงค์ออกนาม FTP เป็น standard network protocol ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน files ระหว่าง host ไปยัง host (PC กับ Server หรือ Server กับ Server หรือ PC กับ PC) โดยเฉพาะบน Internet FTP Server จะเปิด TCP port 21 ไว้ การเชื่อมต่อของ FTP จาดเครื่อง Client นั้นทำได้โดยใช้ FTP Client เช่น FileZilla FTP Client เป็นต้น ส่วน โปรแกรมที่ใช้ทำ FTP Server บน windows นั้นมีหลายตัว แต่ถ้าเป็นบน Linux แนะนำโปรแกรม vsftpd นะครับ เพราะจะมีความปลอดภัยสูง และมีความเร็วในการใช้งานมากครับ ข้อแนะนำไม่ควรให้ User root หรือ admin เข้า FTP Server ได้โดยตรง เพราะเสี่ยงต่อการถูกขโมยหรือแก้ไข Config ต่างๆของ Server ครับ ตรงส่วนนี้สามารถปรับแต่งได้ ( ดู youtube ประกอบตามด้านล่างนะครับ )

 

- Proxy Server หรือ Cache server คือ เครื่อง Server ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล website ที่ผู้ใช้เคยร้องขอ หากมีการร้องขอข้อมูลที่ไม่มีใน Web Server ตัว Proxy Server ก็จะออกไปหาใน Internet แล้วนำกลับมาเก็บใน cache เมื่อผู้ใช้ท่านอื่นต้องการก็จะนำจาก cache ไปใช้ได้ทันที จึงเป็นการลดภาระของระบบ Network ป้องกันการออกไปสู่ Internet โดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะการเข้า website ต่างประเทศ และเป็นการประหยัด Bandwidth อีกด้วย โปรแกรมที่ใช้ทำ Proxy server ที่นิยมใช้กันมากคือ Squid เนื่องจากสามารถติดตั้งและปรับแต่งได้ง่าย ทำให้ ISP ประหยัด bandwidth และ user ใช้ Internet ได้เร็วขึ้นอีกด้วย Proxy Server โดยส่วนใหญ่จะใช้ TCP port 3128 หรือ 8080 ขึ้นอยู่กับผู้ Config โดยส่วนใหญ่เป็นการใช้ภายในองค์กรเท่านั้น ข้อแนะนำควรหมั่นตรวจสอบพื้นที่ harddisk ที่ใช้เก็บ cache สม่ำเสมอ ไม่ควรปล่อยให้พื้นที่ harddisk เต็ม จะทำให้ Server หยุดทำงานได้ ( ดู youtube ประกอบตามด้านล่างนะครับ )

 

- DNS Server หรือ Domain Name System server คือ Server ที่ให้บริการแปลงชื่อ website เป็นหมายเลข IP Address ซึ่งการแปลงชื่อนี้อาจเกิดในเครื่อง local เอง จาก Cache ในเครื่อง local หรือจากเครื่อง Server ของผู้ให้บริการ Internet เพราะหมายเลข IP Address เป็นตัวเลขที่ใช้ไม่ค่อยสะดวกและจำยาก ดังนั้นเครื่อง PC ทุกเครื่องที่่ต้องการออกสู่ Internet จึงต้องมีการ Set DNS Server ไว้ด้วย โปรแกรมที่ใช้ทำ DNS server ที่นิยมใช้กันมากคือ BIND ในการติดตั้งนั้นต้องมีการกำหนด Zone file และชื่อ domain ให้ถูกต้อง และอีกสิ่งที่ต้องระวังคือ DNS Server จะใช้ Protocol TCP และ UDP port 53 ดังนั้นในการ setup firewall ไม่ควรลืมเปิด TCP และ UDP port 53 เพราะอาจจะเป็นสาเหตุให้ user ไม่สามารถออกสู่ Internet ได้นะครับ และการ Update Domain Name ของ DNS Server ทั่วโลก ใช้เวลาประมาณ 2-48 ชั่วโมง ดังนั้นในการตรวจสอบข้อมูล Domain Name ควรใช้ DNS Server ของหลายๆ ISP ในการตรวจสอบนะครับ

ดูวีดีโอการสอนเกี่ยวกับ DNS Server ได้ตามด้านล่างนะครับ

 

- Mail Server คือ Server ที่ให้บริการรับส่งอีเมล ตัวอย่างโปรแกรมบริการอีเมล เช่น Sendmail, qmail, Microsoft Exchange ,Postfix เป็นต้น โดยเฉพาะ Postfix เป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะสามารถติดตั้งได้บน AIX, BSD, HP-UX, Linux, MacOS X, Solaris และอื่นๆ ปรับแต่ง Config และใช้งานง่าย Mail Server หรือ Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) Server จะใช้ TCP port 25 ในการส่ง e-mail นอกจากนี้ยังมี Post Office Protocol (POP) Server และ Internet Message Access Protocol (IMAP) Server มีหน้าที่รับ e-mail หรือดูด e-mail โดย POP Server ใช้ TCP port 110 และ IMAP Server ใช้ TCP port 143 ดังนั้นในการ Config Firewall อย่าลืมเปิดทั้ง 3 port นะครับ ไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถรับส่ง e-mail ได้

- Remote Authentication Dial-In User Service (RADIUS) Server เป็นอีก 1 Server ที่ต้องมีในองค์กรใหญ่่ๆ ,บริษัททั่วไป ,ร้าน Internet Cafe ,ร้านกาแฟ ,ISP ผู้ให้บริการ Internet หรือแม้แต่ในหอพัก ที่ต้องการมีระบบ Username และ password ในการ login เข้าสู่ Network หรือ Intrnet ในปัจจุบัน ปกติแล้ว Radius Server จะต้องติดต่อกับอีกอย่างน้อย 2 ส่วนคือ 1) RAS (Remote Access Services) อาจจะเป็น Router,Firewall หรือ Linux Server ก็ได้ และ 2) Database เช่น MySQL, MariaDB, PostgreSQL, SQLite, Microsoft SQL Server, Oracle เป็นต้น

ดูวีดีโอเกี่ยวกับ Radius Server ได้ตามด้านล่างนะครับ

นอกจาก Server ที่กล่าวมาแล้ว ยังมี Server อีกมากมาย เช่น Database Server , Fax Server ,Game Server , Print Server , Log Server เป็นต้น ควรจะศึกษาเพิ่มเติม เพราะ Server แต่ละประเภทก็มีหน้าที่และการ Config ที่แตกต่างกันไป

หวังว่าบทความนี้ควรจะเป็นประโยชน์ ไม่มากก็น้อยนะครับ

เรียบเรียงโดย อาจารย์เกรียงศักดิ์ นามโคตร (อาจารย์ดอย )

 

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

บทความ Network

บทความ Linux

บทความ Certificate